ส.อ.ท.หนุน ‘พาณิชย์’ เดินหน้า FTA-EFTA หลังบรรลุการเจรจาสําเร็จ

2024-12-05 HaiPress

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หนุนกระทรวงพาณิชย์เดินหน้า FTA-EFTA หลังบรรลุการเจรจาสําเร็จเป็นฉบับแรกที่ไทยมีกับประเทศในยุโรป ส่งผลให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อไทย โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าเกษตรและอาหาร

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ส่งข่าวแสดงความยินดีต่อกระทรวงพาณิชย์ ในความสําเร็จต่อการบรรลุการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) ระหว่างประเทศไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) ซึ่งนับว่าเป็น FTA ฉบับแรกที่ไทยมีกับประเทศในยุโรป โดยกลุ่มประเทศ EFTA ประกอบด้วยสมาชิก  4 ประเทศ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ ไอซ์แลนด์ และนอร์เวย์

การเจรจา FTA ฉบับนี้ใช้เวลาการเจรจาร่วม 2 ปี นับจากปี 2565 โดยการเจรจาครอบคลุมประเด็นสําคัญ อาทิ การค้าสินค้า กฎว่าด้วยถิ่นกําเนิดสินค้า การอํานวยความสะดวกทางการค้า มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรการอุปสรรคเทคนิคต่อการค้า การค้าบริการ การลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา ความร่วมมือด้านเทคนิคและการเสริมสร้างศักยภาพ เป็นต้น ซึ่งตลอดการเจรจา ส.อ.ท. ได้ให้ข้อมูลประกอบการเจรจา โดยเฉพาะเรื่องกฎว่าด้วยถิ่นกําเนิดสินค้า ซึ่งมีความสําคัญต่อการกําหนดแหล่งกําเนิดสินค้าเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้

ความตกลงเขตการค้าเสรี ส่งผลให้กลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับผลประโยชน์จากการใช้วัตถุดิบร่วมกันระหว่างสมาชิก ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก หนังและผลิตภัณฑ์หนัง สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มเครื่องปรับอากาศ และเครื่องทําความเย็น ไฟฟ้ าและอิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งเยื่อและกระดาษ

ทั้งนี้ ส.อ.ท. ได้ร่วมหารือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการเจรจามาโดยตลอด ได้แก่ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และสํานักงานเศรษฐกิจ การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ผลสําเร็จของการเจรจา FTA ฉบับนี้ จะส่งผลให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อประเทศไทย โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าเกษตรและอาหารที่ไทยจะได้รับประโยชน์ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดหวาน อาหารสําเร็จรูป อาหารสัตว์ ผลไม้ เมืองร้อน แป้ง นํ้ามันพืช ไก่แปรรูป นํ้าตาลและผลิตภัณฑ์ เส้นก๋วยเตี๋ยว ผักและผลไม้กระป๋ อง และนํ้าผลไม้และในส่วนของภาคบริการ ได้แก่ การท่องเที่ยว การเงิน โทรคมนาคม การแพทย์และสุขภาพ พลังงานสะอาด และด้าน วิชาชีพ โดยจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจระหว่างกันจากมูลค่าการค้าของไทยและ EFTA ที่ปัจจุบัน (เดือนมกราคมตุลาคม 2567) มีมูลค่ากว่า 10,293.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 3,787.97 ล้านดอลลาร์ และมูลค่า การนําเข้า 6,505.56 ล้านดอลลาร์ (ที่มา: รายงานข้อมูลสถิติการค้าระหว่างประเทศของไทย กระทรวงพาณิชย์)

ความก้าวหน้าของการเจรจา EFTA ถือเป็นความสําเร็จของรัฐบาลไทยและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งเป็นการตอกยํ้าถึงประสิทธิภาพการทํางานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อนําไปสู่การเจรจาที่สัมฤทธิ์ผล ก่อให้เกิดประโยชน์ทางการค้า การลงทุน และภาคอุตสาหกรรม ซึ่ง ส.อ.ท. เชื่อมั่นว่า นอกจากความสําเร็จของการ เจรจาเปิดเสรีด้านการค้าสินค้าและบริการแล้ว การบรรลุความตกลงนี้จะสามารถเป็นกลไกสําคัญในการนําไปสู่ความร่วมมือกับกลุ่มประเทศยุโรป เพื่อพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมไทยและยกระดับมาตรฐานสินค้าไทย และไปสู่การเจรจา FTA ไทย-อียู ที่สําเร็จในอนาคต

ภายหลังการสรุปผลการเจรจา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจะนําเสนอผลการเจรจาต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาและให้ความเห็นชอบ โดยคาดว่าจะมีการลงนามร่วมกับกลุ่มประเทศสมาชิก EFTA ในช่วงเดือนม.ค.68 เพื่อให้ความตกลงดังกล่าวมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการต่อไป และในส่วนของภาคเอกชนไทย จะสามารถติดตามความคืบหน้าและแนวทางการใช้ประโยชน์จากความตกลงฉบับนี้ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจและขยายโอกาสในการค้าระหว่างประเทศ

ทั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะผู้แทนภาคเอกชนด้านอุตสาหกรรม ขอขอบคุณกระทรวงพาณิชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ ที่มีบทบาทสําคัญในการผลักดันให้การเจรจา FTA ไทย-EFTA สําเร็จลุล่วง โดย ส.อ.ท. พร้อมให้การสนับสนุนและส่งเสริมสมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงเขตการค้าเสรีได้ อย่างเต็มประสิทธิภาพต่อไป

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา
©ลิขสิทธิ์2009-2020 ไทยฟอร์จูนรายสัปดาห์    ติดต่อเรา SiteMap